วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตัวชี้วัด

5.1 .4-6/1,3,4,6
5.1 .4-6/1,2,3,4,6
5.1 .4-6/1,2,3,4
5.1 .4-6/1,2,3,6

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

- การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่อง คำนมัสการคุณานุคุณ
- การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
- การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่อง นิทานเวตาลเรื่องที่10
- การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่อง นิราศนรินทร์คําโคลง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

คำนมัสการคุณานุคุณ



คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

 อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง



แนวคิด

           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

นิทานเวตาลเรื่องที่ 10




ความเป็นมา
          นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
 อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

นิราศนรินทร์คําโคลง



เรื่องย่อ
          นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาที่เมืองถลางและชุมพร  โดยเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์  แล้วกล่าวถึง  ความเจริญของบ้านเมือง  จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป
          นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง  คลองบางกอก (ใหญ่)  วัดหงส์  วัดสังข์กระจาย  บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทางอ่านต่อ